มหาวิทยาลัยเปิดศรีลังกา มาตรฐานคุณภาพอังกฤษ

มหาวิทยาลัยเปิดศรีลังกา มาตรฐานคุณภาพอังกฤษ

มหาวิทยาลัยเปิดศรีลังกา มาตรฐานคุณภาพอังกฤษ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


ประเทศศรีลังกาเป็นเกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของอินเดีย ขึ้นชื่อเป็นแดนอารยธรรมมรดกโลกของชาวพุทธ ระบบการศึกษาของศรีลังกาในปัจจุบันมาจากระบบการศึกษาของสหราชอาณาจักร ในยุคที่ศรีลังกาเป็นอาณานิคมของอังกฤษช่วงศตรวรรษที่ 19

การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในหลักสูตรปริญญาสาขาแพทยศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอน ส่วนคณะวิชาอื่น ๆ แตกต่างกันไป อาจใช้ภาษาสิงหล ภาษาทมิฬ หรือภาษาอังกฤษ ขึ้นอยู่กับนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง

ต้องผ่านการสอบ GCE A-Level เพื่อศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

หากสอบไม่ผ่าน สามารถเข้าโรงเรียนอาชีวศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมที่จำเป็น ซึ่งจะเป็นเกณฑ์ที่สถานศึกษาใช้ในการพิจารณารับนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในอนาคต โดยจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยแบบดั้งเดิม หรือที่มหาวิทยาลัยเปิดของศรีลังกาก็ได้

มหาวิทยาลัยเปิดของศรีลังกา (Open university of Sri Lanka) หรือ OUSL ก่อตั้งขึ้นในต้นปี ค.ศ.1980 เพื่อเรียนระดับปริญญาและประกาศนียบัตร สามารถทำงานไปและหาเงินเรียนต่อไปด้วย วิทยาเขตหลักตั้งอยู่ในกรุงโคลัมโบ (Colombo) เมืองหลวงของศรีลังกา

มหาวิทยาลัยเปิดของศรีลังกาจัดการเรียนการสอนในลักษณะพิเศษที่ไม่ใช่ระบบภาคการศึกษาตามปรกติ เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวที่นำเสนอโปรแกรมการศึกษาทางไกลตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรมีความยืดหยุ่น ให้เลือกเรียนภาคทฤษฎีไปพร้อมกับการฝึกฝนประสบการณ์ในการทำงานจริง

การศึกษาแบ่งออกเป็น 4 คณะ ดังต่อไปนี้
1.คณะศึกษาศาสตร์ (Faculty of Education) แบ่งเป็น 3 ภาควิชา ได้แก่ มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ปฐมวัยและประถมศึกษา และการศึกษาพิเศษ
2.คณะเทคโนโลยีวิศวกรรม (Faculty of Engineering Technology) แบ่งเป็น 6 ภาควิชา ได้แก่ วิศวกรรมพลเรือน วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเครื่องกล เทคโนโลยีสิ่งทอและเสื้อผ้า วิศวกรรมการเกษตรและพืช และคณิตศาสตร์วิศวกรรม
3.คณะมานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ (Faculty of Humanities and Social Sciences) แบ่งเป็น 4 ภาควิชา ได้แก่ ภาษาศาสตร์ กฎหมาย สังคมศึกษา และการจัดการ
4.คณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Faculty of Natural Sciences) แบ่งออกเป็น 6 ภาควิชา ได้แก่ พฤกษศาสตร์ เคมี วิทยาศาสตร์สุขภาพ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และสัตววิทยา

ระดับปริญญาตรี
-Bachelor of Science
-Bachelor of Science in Nursing
-Bachelor of Education (Natural Sciences)
-Bachelor of Technology (Engineering)
-Bachelor of Industrial Studies
-Bachelor of software engineering
-Bachelor of Laws (LLB)
-Bachelor of Arts in Social Sciences
-Bachelor of Management Studies (BMS)
-Bachelor of Arts in English Language & English Language Teaching

ระดับปริญญาโท
-Master of Arts Degree in Development Studies and Public Policy
-Master of Arts in Teacher Education
-Master of Arts in Teacher Education (International)
-Master of Technology in Industrial Engineering
-Master of Technology in Construction Management
-Master of Science in Environmental Sciences
-Master of Education
-Commonwealth Executive Master of Business Administration
-Commonwealth Executive Master of Public Administration
-Master of Business Administration in Human Resource Management

หลักสูตรระดับปริญญาเอกทุกคณะวิชา
ระบบการเรียนทางไกลในมหาวิทยาลัยเปิดของศรีลังกามีมาตรฐานการศึกษาสูงเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยเปิดที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมทั้งมหาวิทยาลัยเปิดแห่งชาติอินทิรา คานธี (Indira Gandhi National Open University - IGNOU) และมหาวิทยาลัยเปิดบังกลาเทศ (Open University of Bangladesh)

มหาวิทยาลัยเปิดแห่งชาติอินทิรา คานธี ตั้งอยู่ในเมืองนิวเดลี เป็นเมืองหลวงของประเทศอินเดีย ล่าสุดเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรในคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ระยะเวลา 6 เดือน ถึง 2 ปี

มหาวิทยาลัยเปิดบังกลาเทศ ตั้งอยู่ในเมืองธากาซึ่งเป็นเมืองหลวง และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศที่จัดการเรียนการสอนรูปแบบทางไกลโดยใช้สื่อมัลติมีเดียทันสมัย แบ่งเป็น 7 คณะ ได้แก่ คณะศึกษาศาสตร์ คณะสังคมวิทยา มานุษยวิทยา และภาษา คณะธุรกิจ คณะเกษตรและพัฒนาชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกฎหมาย และ Open School ที่เปิดสอนระดับมัธยมปลาย

สอบถามเพิ่มเติมที่
The Open University of Sri Lanka
P.O. Box 21, Nawala,
Nugegoda 10250
Sri Lanka
โทรศัพท์ +94 112 881000/ [000 - 499]
โทรสาร +94 112 853975
อีเมล์ pio@ou.ac.lk
เว็บไซต์ www.ou.ac.lk

ที่มา "การศึกษาวันนี้"
ผู้เขียน : จิระนันต์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook