มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คัดมอบทุนเรียนแพทย์ปี 2555

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คัดมอบทุนเรียนแพทย์ปี 2555

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คัดมอบทุนเรียนแพทย์ปี 2555
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท และโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังเปิดรับสมัครเพื่อสอบคัดเลือกนักศึกษาใหม่โดยการสอบตรง ประจำปีการศึกษา 2555 จำนวน 105 คน เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 15-30 สิงหาคม 2554

คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร
เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ.2540 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่างด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรีคณะแพทยศาสตร์ พ.ศ.2549

คุณสมบัติเฉพาะ
1.เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ (นับถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2555)
2.มีภูมิลำเนาในจังหวัดที่ระบุไว้ไม่น้อยกว่า 3 ปีติดต่อกันนับถึงวันที่ปิดรับสมัคร หรือมีบิดาหรือมารดามีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดที่ระบุไม่น้อยกว่า 5 ปีติดต่อกันนับถึงวันที่ปิดรับสมัคร
3.ผู้สมัครต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
3.1ระยะเวลาการศึกษา
3.1.1เคยศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นตลอดหลักสูตรในเขตส่งเสริมการศึกษาที่ตนมีภูมิลำเนาในข้อกำหนดเท่านั้นหรือ
3.1.2เคยศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตลอดหลักสูตรในเขตส่งเสริมการศึกษาที่ตนมีภูมิลำเนาที่คณะฯกำหนดเท่านั้น
3.2รับเฉพาะสายสามัญ
3.3มีใบระเบียนแสดงผลการศึกษาระดับฃั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(รบ.1หรือใบปพ.1)ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 รวม 4 ภาคการศึกษา
3.4ไม่มีประวัติความประพฤติที่เสียหาย โดยให้โรงเรียนเป็นผู้รับรองความประพฤติ
3.5เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่จะเป็นข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียนข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2535
หากปรากฎในภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น จะถูกตัดสิทธิ์มิให้เข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ แม้ว่าจะสามารถสอบคัดเลือกได้
4.มีคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาสาขาวิชาแพทยศาสตร์(เพิ่มเติม)ดังนี้
การเรียนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตให้เหมาะสม โดมีหลักสำคัญ 3 ข้อ คือ 1.ไม่เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย 2.ไม่เกิดอันตรายต่อนักศึกษาแพทย์เอง และ 3.เพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคต่อการศึกษา ดังนี้
4.1ต้องมีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐได้หลังจากจบการศึกษาแล้ว โดยต้องสามารถทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียว หรือสัญญาปลายปิดกับรัฐบาล ตามระเบียบและเงื่อนไขของรัฐบาลกับมหาวิทยาลัย
4.2ผู้สมัครเข้าศึกษาสาขาแพทยศาสตร์ จะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรคหรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมดังต่อไปนี้
4.2.1ผู้สมัครเข้าศึกษาสาขาแพทยศาสตร์ จะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากอาการของโรคหรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมดังต่อไปนี้
-ผู้สมัครเข้าศึกษาสาขาแพทยศาสตร์ จะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรคหรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
1.มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตัวเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต(Psychotic Disorders)โรคอารมณ์ผิดปกติ(Mood Disorders)โรคประสาทรุนแรง(Severe Neurotic Disorders)โรคบุคลิกภาพผิดปกติ(Personality Disorders)โดยเฉพาะทาง Antisocial Personality Disorders หรือ Boderline Personality Disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
2.เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วยหรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
3.เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.มีความพิการทางร่ายกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
5.มีความผิดปกติในการมองเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
-ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
-ระดับการมองเห็นในตาข้างดีแย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
6.มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด(speech discrimination score)น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาท และเซลล์ประสาทการได้ยิน(sensorineural hearing loss)
7.โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ที่คณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ คณบดี/ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค หรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกรณี ตรวจเพิ่มเติมได้

คุณสมบัติทางการศึกษา
ต้องศึกษารายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544:มาตรฐานการเรียนรู้ชั้นม.4-6 ครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด มีรายละเอียดดังนี้
1.กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมทางวิทยาศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
2.กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาทางคณิตศาสตร์ รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
3.กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ รวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต

เงื่อนไขของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท
1.ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทต้องยื่นแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบฟอร์มที่มหาวิทยาลัยกำหนด ถ้าพ้นกำหนดถือว่าสละสิทธิ์ และคณะแพยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะส่งชื่อผู้แสดงจำนงเข้าศึกษาไปคัดชื่อออกจาการสมัครเข้าศึกษาในคณะแพทย์ศาสตร์ กสพท. และแอดมิชชั่นส์
2.ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทให้ถือว่าเป็นผู้ได้รับทุนของรัฐบาล โดยจะต้องทำสัญญาที่จะปฏิบัติงานในชนบทภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว ตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข
3.ผู้สำเร็จการศึกษาของหลักสูตร ต้องสอบเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภาผ่าน จึงจะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ
8.เขตรับผิดชอบของคณะแพทยศาสตร์ ผู้สมัครโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท จะต้องมีภูมิลำเนาในจังหวัดที่ระบุ ไม่น้อยกว่า 3 ปีติดต่อกันนับถึงวันที่ปิดรับสมัคร หรือมีบิดาหรือมารดามีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดที่ระบุ ไม่น้อยกว่า 5 ปีติดต่อกันนับถึงวันที่ปิดรับสมัครตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ดังต่อไปนี้
8.1ภาคกลาง(ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.สระบุรี) จังหวัดสระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง ปทุมธานี
8.2ภาคใต้ (ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก รพ.สุราษฎร์ธานี และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์) จังหวัดสุราษฏร์ธานี ชุมพร ระนอง
8.3ภาคตะวันออก(ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.เมืองฉะเชิงเทรา)จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว

หลักฐานการสมัคร
1.ใบสมัครที่สั่งพิมพ์จากระบบInternet
2.ใบระเบียนแสดงผลการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
3.ใบระเบียนแสดงผลการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(รบ.1หรือปพ.1)ที่สถานศึกษาออกให้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 รวม 4 ภาคการศึกษา
4.บัตรประจำตัวประชาชน ให้ถ่ายเอกสารหน้า-หลังอยู่ในหน้าเดียวกัน
5.ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล เฉพาะในกรณีที่ชื่อ-นามสกุลในเอกสารการสมัครไม่ตรงกัน
6.สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงภูมิลำเนาอยู่ต่อเนื่องที่ระบุในข้อ 8
7.ใบรับรองการศึกษาดูงานจากโรงพยาบาล(ถ้ามี)
8.ใบรับรองสุขภาพ
หมายเหตุ ใบสมัครดาวน์โหลดได้จาก http://www.med.tu.ac.th

สิทธิที่ได้รับ
ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทให้ถือว่าเป็นผู้ได้รับทุนของรัฐบาล โดยจะต้องทำสัญญาที่จะปฎิบัติงานในชนบทภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว ตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข
ส่งหลักฐานการสมัครสอบไปได้ที่ งานบริการการศึกษา ชั้น 3 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เลขที่ 95 หมู่ที่ 8 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ภายในวันที่ 1-30 กันยายน 2554
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายรับเข้าศึกษา สำนักทะเบียนและประมวลผล โทรศัพท์ 0-2564-4440 ต่อ 1603-1606

ที่มา "การศึกษาวันนี้"
ผู้เขียน : ภรณ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook