จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน(ODOD)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน(ODOD)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน(ODOD)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังจะเปิดรับสมัครเพื่อคัดเลือกนักเรียนทุนโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน(ODOD) ร่วมกับโครงการรับตรงคณะแพทยศาสตร์ ปีการศึกษา 2555 จำนวน 113 คนรับสมัครระหว่างวันที่ 15-31 สิงหาคม 2554 ทางเว็บไซค์ http://acad.md.chula.ac.th

คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร
1.เป็นผู้มีสัญชาติไทยและเป็นผู้ที่ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2.ต้องมีคุณสมบัติที่จะปฏิบัคิงานในส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐได้หลังจากจบการศึกษาแล้ว
3.ต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2554หรือเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ของโครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยยกเว้นไม่รับผู้ที่จบการศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน(กศน.)
4.เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย และรับรองต่อมหาวิทยาลัยได้ว่า จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มความสามารถ และจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีต่่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
5.ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ มาแล้วเพราะความประพฤติไม่เหมาะสม หรือมีความผิดตามกฎหมาย
6.ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกลงโทษเนื่องจากกระทำผิด หรือร่วมกระทำทุจริตในการสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบัจการศึกษาใด ๆ ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
7.เป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
7.1มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง อันอาจเป็นอันตรายต่อตนเองและ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต(Psychotic disorders)โรคอารมณ์ผิดปกคิ(Mood disorders)โรคประสาทรุนแรง(Severe neurotic disorders)โรคบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality disorders)โดยเฉพาะ Antisocial personality disorders หรือ Borderline personality รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบอาชีพเวชกรรม
7.2เป็นโรคติดต่อในระยะอันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบอาชีพเวชกรรม
7.3เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองหรือผู้ป่วย ดังต่อไปนี้
7.3.1โรคลมชักที่ยังไม่สามารถควบคุมได้(โรคลมชักที่ไม่มีอาการชักมาแล้วอย่างน้อย 3 ปีโดยมีการรับรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถือเป็นโรคลมชักที่ควบคุมได้)
7.3.2โรคหัวใจระดับรุนแรง
7.3.3โรคความดันเลือดสููงรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เกิดพยาธิสภาพต่ออวัยวะอย่างถาวร
7.3.4ภาวะไตวายเรื้อรัง
7.3.5ภาวะติดสารเสพติดให้โทษ
7.4มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัคิงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

เอกสารประกอบการสมัคร
1. ใบสมัครฉบับย่อ (ที่สมัครบนอินเตอร์เนต) พร้อมลงลายมือชื่อผู้สมัคร
2. ใบสมัครฉบับเต็ม (ฉบับนี้) กรอกรายละเอียด พร้อมลงลายมือชื่อผู้สมัคร
3. รูปถ่ายขนาด 3 x 4 ซม. หน้าตรงไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 3 รูป
(สำหรับผู้สมัครติดลงในใบสมัคร 1 รูป) เขียนชื่อ-นามสกุลหลังรูปทุกใบ
4. สำเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 (ปพ. 1:4)
หรือใบแสดงผลการศึกษาที่สถาบันการศึกษาออกให้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
หรือระดับชั้นปีที่ 1 ของโครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
ในการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
5. สำเนาประกาศนียบัตรและ/หรือสำเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นปีที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 (ปพ. 1:3) เฉพาะกรณีสมัครโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท โดยใช้สิทธิ์
สถานศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
6. สำเนาประกาศนียบัตรเพื่อแสดงว่าได้ผ่านการอบรมคัดเลือกครั้งที่ 2 วิชาชีววิทยา จากสถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในโครงการจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ โอลิมปิกระหว่างประเทศ เฉพาะกรณีสมัครโครงการโอลิมปิกวิชาการ (ชีววิทยา)
7. สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงภูมิลำเนาตามระเบียบประกาศทั้งของผู้สมัครและผู้ปกครอง
8. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน โดยถ่ายเอกสาร หน้า-หลัง ให้อยู่ในหน้าเดียวกัน
9. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล เฉพาะในกรณีที่ชื่อ-สกุล ในเอกสารรับสมัครไม่ตรงกัน
10. ซองจดหมายขนาด 6 นิ้ว x 9 นิ้ว (ขนาดมาตรฐานของการสื่อสารฯ) ติดแสตมป์หน้าซอง ซองละ 5 บาท
พร้อมทั้งจ่าหน้าซองถึงชื่อและที่อยู่ของผู้สมัครแล้ว จำนวน 2 ซอง
หมายเหตุ : ให้ลงนามรับรองสำเนาทุกฉบับ

ทุนการศึกษาที่ได้รับ
ก่อนเข้าศึกษาต้องทำสัญญากับกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้ผู้รับทุนต้องปฏิบัติงานในส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงสาธารณสุข หลังจากสำเร็จการศึกษา เป็นระยะเวลา 12 ปีตามระเบียบและเงื่อนไขของทุน สิทธิที่ผู้ได้รับทุนได้รับ จะได้รับเงินสนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษาตามอัตราค่าใช้จ่ายจริงของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ไม่เกินปีละ 40,000 บาทตลอดระยะเวลาการศึกษา 6 ปี นอกจากนี้นังได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการยังชีพ สำหรับเป็นค่าเช่าหอพักตามจ่ายจริง ไม่้เกินเดือนละ 3,000 บาท และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนละ 5,000 บาทตลอดระยะเวลาการศึกษา 6 ปี
สนใจให้สอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขใกล้บ้านหรือที่เว็บไซต์ http://acad.md.chula.ac.th หรือเว็บไซต์ http://www.cpird.in.th(สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท)
การสมัครให้ส่งจดหมายยืนยันการสมัครและหลักฐานประกอบการสมัคร ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ที่ โครงการรับตรง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2555 ฝ่ายวิชาการ (ตึกอานันทมหิดล ชั้น 4)คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330

ที่มา "การศึกษาวันนี้"
ผู้เขียน : ภรณ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook