10 สุดยอดดอกไม้แปลกๆในโลก

10 สุดยอดดอกไม้แปลกๆในโลก

10 สุดยอดดอกไม้แปลกๆในโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 


1. Rafflesia arnoldii หรือดอกบัวผุด

เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บนรากของพืชจำพวกเถาองุ่นป่า (Tetrastigma) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ย่านไก่ต้ม มีลักษณะเด่นที่ดอกซึ่งเป็นดอกเดียวขึ้นจากพื้นดินมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเหม็นมาก ให้เห็นระหว่างฤดูฝน ระหว่างพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม

ดอก ตูมอยู่จะคล้ายกับหม้อขนาดใหญ่มีกลีบหนาจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 70-80 เซนติเมตร ที่โคนของดอกมีกลีบนำสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในดอกจะมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนมีปุ่มคล้ายหนามแหลมจานนี้จะซ้อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง ดอกจะบานอยู่ได้เพียง 4-5 วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะค่อยๆ ดำเน่าไป ดอกบัวผุดพบใน อำเภอพนม บนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสก ในจังหวัดสุราษฎ์ธานี ซึงเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

 

 

2. Titan Arum ดอกซากศพ หรือดอกบุกยักษ์

ดอกไม้ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง หรือ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ " Amorphophallus titanum " ชื่อวิทยาศาสตร์แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า ต้น "ลึงค์ยักษ์แปลง" คือแปลงกายให้เหมือนลึงค์แต่ไม่ใช่ลึงค์ เป็นพืชในเขตป่าร้อนชื้น ในพืชตระกูล "บัวผุด" (Rafflesia) เป็นดอกไม้เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช พบขึ้นอยู่บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ลำพังตัวช่อดอกแทงยอดตั้งขึ้นไปกว่า 3 เมตร จึงพืชสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเองจากสัตว์บางชนิด ขณะเดียวกัน กลิ่นน่าสะอิดสะเอียนที่หึ่งไปทั่ว กลับเย้ายวนแมลงบางชนิดให้มาดูดน้ำหวาน และผสมเกสรให้มัน กล่าวกันว่ากลิ่นของดอก Titan Arum คล้ายกับเนื้อเน่าสำหรับคน แต่กลับเป็นกลิ่นหอมยั่วน้ำลายแมลงเต่าที่ชอบกินของเน่าและแมลงวันให้มาช่วย ผสมเกสร กลีบดอกสีแดงเข้มยังช่วยลวงตาให้สัตว์นึกว่าเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่น่าตอม ด้วย ซึ่งจะบาน 72 ชั่วโมง

 

 


3. Hydnora africana

พืชพื้นเมืองไปภาคใต้ แอฟริกา พืชเจริญเติบโตใต้ดินยกเว้นดอกไม้อ้วนที่ปรากฏบนพื้นและส่งเสียงของกลิ่น อุจจาระ เพื่อดึงดูดธรรมชาติ ผสมเกสร , ด้วงมูลสัตว์ และ ซากสัตว์ด้วง ดอกไม้ทำหน้าที่เป็นกับดักสำหรับระยะเวลาสั้น ๆ ยึดด้วงที่ใส่แล้วปล่อยพวกเขาเมื่อดอกไม้บานเต็มที่

 

 

4. Helicodiceros muscivorus - Dead horse arum lily

เป็นไม้ประดับ พื้นเมืองในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน มีกลิ่นเหมือนเนื้อเน่าเหม็นหึ่ง, ดึงดูดแมลง ให้มาผสมเกสร

 

 


5. ดาร์ลิงโทเนีย (Darlingtonia), Cobra Lilly, ลิลลี่งูเห่า


ลิลลี่งูเห่า เป็นพืชกินแมลงกลุ่มเดียวกับซาราซีเนียและ Heliamphora มีชื่อเสียงในแง่ของความแปลกประหลาด น่าพิศวงและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง แต่ขณะเดียวกันก็มีชื่อด้านตรงข้ามในแง่ของความบอบบางจนกล่าวกันว่า ลิลลี่งูเห่าเป็นพืชกินแมลงที่เลี้ยงยากที่สุดในโลก แม้แต่ในถิ่นที่ลิลลี่งูเห่ากำเนิดเป็นดงใหญ่ ชาวบ้านในละแวกนั้น ขุดมาใส่กระถางก็ยังตาย ดาร์ลิงโทเนีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Darlingtonia californica ค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1841 โดยผู้ช่วยนักพฤกษศาสตร์นาม J.D. Brackenridge ในหนองน้ำแฉะทางตอนเหนือของรัฐ californica ซึ่งมีภูมิอากาศคล้ายคลึงกับประเทศไทย

ดาร์ลิงโทเนียเป็นพืชล้มลุกไม่มีเนื้อไม้ อายุหลายปี มีต้นฝังอยู่ใต้ดินเรียกว่าเหง้า รากแตกเป็นฝอยเล็กๆ ไม่มีรากแก้ว ใบของมันจะแทงขึ้นพ้นพื้นดินลักษณะเป็นกอ เช่นเดียวกับซาราซีเนีย แต่ความแตกต่างที่เห็นชัดคือว่า กรวยที่ยกขึ้นเป็นหลอดด้านหนึ่งจะโค้งงอเป็นรูปโดม จนไปชนปลายกรวยอีกด้านหนึ่งเหลือไว้เพียงรูเล็กๆ พอให้แมลงมุดขึ้นไปได้ ฝากรวยแปลงรูปไปเป็นแผ่นคล้ายลิ้นงู 2 แฉก แล้วกรวยของมันยังบิดตัวหมุนกลับ 180 องศา ทำให้ลิ้น 2 แฉกหมุนกลับมาอยู่นอกกอ ยอดโดมเป็นเนื้อเยื่อใสคล้ายพลาสติก แสงลอดผ่านได้ ใช้กลิ่นหอมของน้ำหวาน ที่มันผลิตขึ้นบริเวณปากทางเข้า เป็นตัวหลอกล่อให้แมลงเดินเข้าไปยังกับดักและตกลงไปตายในที่สุด

แต่เจ้าลิลลี่งูเห่าทำได้แยบยลกว่านั้น น้ำหวานที่มันผลิตจะหลอกล่อให้แมลงเดินเข้าไปในรูเปิดเล็กๆ บริเวณลิ้นงูเห่า ซึ่งผนังภายในมีน้ำหวานจำนวนมาก แมลงอาจลังเลที่จะมุดตัวเข้าไปในกรวยที่เต็มไปด้วยน้ำย่อย แต่เมื่อมันมองเข้าไปด้านใน มันจะเห็นแสงสว่างส่องมาจากด้านบนของโดม ซึ่งใสคล้ายพลาสติกทำให้มันหลงกลคิดว่าด้านบนคือท้องฟ้า หากเกินเหตุอันตรายมันก็สามาถบินหลบหนีขึ้นไปได้ทันที แมลงเคราะห์ร้ายจึงชะล่าใจมุดเข้าไปกินน้ำหวานลึกเข้าไปในกรวยที่มีขน ละเอียดและแหลมคม หันไปทิศทางเดียวกันทำให้แมลงไม่สามารถเดินย้อนกลับได้

 

 

6. Heliamphora

เป็นพืชที่มีเหมือกเหนียวสำหรับดักแมลง กลไกของดอกจะมีซอกซับซ้อนที่ทำให้แน่ใจว่าไม่สามารถมีเหยื่อเล็ดรอดไปได้ และเหยื่อจะถูกละลายด้วยน้ำเมือกที่เป็นกรด

 

 

 

7. Drosera หรือ หยาดน้ำค้าง

หยาดน้ำค้างเป็นพืชกินสัตว์สกุลใหญ่สกุลหนึ่ง มีอยู่ประมาณ 170 ชนิด เป็นสมาชิกในวงศ์หญ้าน้ำค้าง ล่อ, จับ และย่อยแมลงด้วยต่อมเมือกของมันที่ปกคลุมอยู่ที่ผิวใบ แมลงจะใช้เป็นสารเสริมทดแทนสารอาหารที่ขาดไปจากดินที่ต้นหยาดน้ำค้างขึ้น อยู่ มีหลากหลายชนิด ต่างกันทั้งขนาดและรูปแบบ สามารถพบได้แทบจะในทุกทวีป

ในประเทศไทยพบหยาดน้ำค้างอยู่ 3 ชนิดคือ จอกบ่วาย (Drosera burmannii Vahl), หญ้าน้ำค้าง (Drosera indica L.) และ หญ้าไฟตะกาด

 

8. Dionaea/Venus Flytrap หรือ กาบหอยแครง

กาบหอยแครง (อังกฤษ: Venus Flytrap) เป็นพืชกินสัตว์ที่ดักจับและย่อยกินเหยื่อที่จับได้ ซึ่งส่วนมากเป็นแมลงและแมง กาบหอยแครงมีโครงสร้างกับดักคล้ายคล้ายบานพับแบ่งออกเป็น 2 กลีบ อยู่ที่ปลายใบของแต่ละใบ และมีขนกระตุ้นบางๆบนพื้นผิวด้านในกับดัก เมื่อแมลงมาสัมผัสขนกระตุ้นสองครั้ง กับดักจะงับเข้าหากัน การที่ต้องการสิ่งกระตุ้นที่ซับซ้อนนี้ก็เพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงานไป กับการดักจับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาหาร

 

 

9. Nepenthes หรือ หม้อข้าวหม้อแกงลิง

หม้อ (Pitcher) ของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง คือเครื่องมือของนายพราน - กับดักสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก - ที่พืชสกุลนี้ส่วนใหญ่ (แต่ไม่ทุกต้น) มีไว้เพื่อหาอาหารที่ขาดแคลนในแหล่งดิน มันหลอกล่อเหยื่อให้เดินเข้ากับดักโดยอาศัยกลิ่นเลียนแบบกลิ่นอาหารตาม ธรรมชาติของเหยื่อ อาจเป็นกลิ่นน้ำหวาน กลิ่นเนื้อสัตว์ กลิ่นแมลงเพศเมีย ฯลฯ หรือยั่วยวนเหยื่อด้วยสีสัน หรือน้ำหวาน หม้อข้าวหม้อแกงลิง บางสายพันธุ์สามารถสะท้อนแสงยูวี (Ultraviolet)จากบริเวณปากหม้อ โดยเฉพาะหม้อแถบบอร์เนียว หลักการคล้ายกับการล่อแมลงโดยใช้แสงจากหลอดที่ชาวบ้านเรียกแบล็คไลท์ใช้ล่อ แมงดานา หม้อข้าวหม้อแกงแกงลิงก็มีแบล็คไลท์เพื่อล่อแมลงกลางคืน ด้านในและใต้ส่วนที่งุ้มโค้งของปากหม้อ (peristome) ส่วนใหญ่เป็นแหล่งผลิตน้ำหวานปริมาณ

N. mirabilis ชอบกินมดมาก เมื่อมดแมลงพยายามชะโงกตัวดูดกินน้ำหวานใต้ปากหม้อที่ลื่นและผิวเป็นคลื่น ตามแนวที่เหยื่อชะโงกอยู่ยืน นอกขจากนี้ ผิวที่ปากหม้อยังมีไขมันเคลือบเป็นมัน เหยื่อจึงมีโอกาสพลัดตกลงไปในหม้ออย่างง่ายดาย

หม้อ แต่ละชนิด จะดึงดูดเหยื่อไม่เหมือนกัน เช่นหม้อข้าวหม้อแกงลิงของไทยที่ชื่อ Nepenthes mirabilis เก่งในการล่อมดดำให้ตกลงไปในหม้อคราวละมากๆ บางครั้งเคยเห็นหม้อที่มีมดเกือบเต็ม ในขณะที่หม้ออัลบอ (N. albomarginata ) เก่งในทางหลอกล่อปลวก

 

10.Byblis

เป็นพืชที่เล็กที่สุดในตะกูลต้นไม้กินแมลง ใบผิวของขนหนาแน่นด้วยต่อมขับ เมือก สารจากปลายของเกสร ดึงดูดแมลงเล็กๆให้มาติดกับ ซึ่งเมื่อสัมผัสหลั่งเหนียว ก็จะไม่มีความแข็งแรงพอที่จะหลบหนี แมลงหรือเหยื่อก็จะเสียชีวิตด้วยความอ่อนเพลียทำให้หายใจไม่ออก เมื่อเมือกปกคลุมและอุดตันเส้นทางหายใจ

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : http://roypad.com/?p=190

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook