"น้ำใจ" มหาวิทยาลัยหลายแห่งช่วยเหลือกรณีน้ำท่วมปี 2554

"น้ำใจ" มหาวิทยาลัยหลายแห่งช่วยเหลือกรณีน้ำท่วมปี 2554

"น้ำใจ" มหาวิทยาลัยหลายแห่งช่วยเหลือกรณีน้ำท่วมปี 2554
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

น้ำท่วมในประเทศไทยกว่า 30 จังหวัดที่เดือนร้อนกันอยู่ในขณะนี้ ประชาชนทั้งประเทศให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกันเป็นอย่างดีดังที่ปรากฎเป็นข่าวประจำวัน ข้าวสาร อาหาร สิ่งของช่วยเหลือถูกระดม

เหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยกว่า 30 จังหวัดที่เดือนร้อนกันอยู่ในขณะนี้ ประชาชนทั้งประเทศให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกันเป็นอย่างดีดังที่ปรากฎเป็นข่าวประจำวัน ข้าวสาร อาหาร สิ่งของช่วยเหลือถูกระดมไปช่วยผู้ที่เดือนร้อน รวมทั้งภาครัฐในกระทรวงศึกษาธิการก็ได้ระดมกันออกมาช่วยเหลือเต็มที่

มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดช่องทางการรับบริจาคเพื่อช่วยผู้ประสบอุททกภัยที่ศาลาพระเกี้ยว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตได้เปิดรับผู้อพยพเป็นศูนย์พักพิงผู้ได้รับความเดือนร้อนจากพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี รวมถึงมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์เปิดรับผู้ได้รับความเดือนร้อนจากน้ำท่วมแถบอำเภอองครักษ์ และจังหวัดปทุมธานี ส่วนโรงเรียนในสังกัดกทม.ก็เปิดรับหากมีน้ำท่วมสูงในเขตกรุงเทพฯ สามารถรองรับผู้อพยพได้ นับเป็นน้ำใจที่คนไทยไม่เคยแร้นแค้นตลอดมา

กลับมาที่เรื่องการเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ทางสกอ.และสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติก็ได้ประกาศเลื่อนการสอบวัดความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ(GAT/PAT) ครั้งที่ 1/2555 เป็นสอบวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2554 และวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2554 ดังนั้นมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่เปิดรับตรงใช้ผลการสอบ GAT/PAT ต้องเลื่อนการประกาศผลสอบออกไป ดังนั้นน้อง ๆ ที่กำลังรอฟังผลการสอบให้ติดตามข่าวสารให้ดี หรือโทรศัพท์สอบถามกันไปที่มหาวิทยาลัยนั้น ๆ

จากเหตุการณ์ความเดือนร้อนเรื่องน้ำท่วมสูง อาจจะให้เกิดผลกระทบในเรื่องอาชีพและชีวิตหลังน้ำลดของผู้ปกครอง บางคนถึงกับเสียบ้าน ทรัพย์สิน ดังนั้นในเรื่องการเสียค่าเล่าเรียน เรื่องค่าหน่วยกิตการศึกษา นักศึกษาต้องหันมาพึงพาเงินทุนการศึกษา ซึ่งมีหลายองค์กร และหน่วยงานรัฐบาลก็ยังคงต้องมีให้คือเงินกรอ. ส่วนใหญ่แล้วผู้เรียนสามารถใช้บริการกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้จนสำเร็จการศึกษา โดยที่ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องแบกรับภาระและค่าใช้จ่ายของบุตรหลานแต่ประการใด หากจะมีบ้างก็มักเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เป็นส่วนเสริมหรือสนับสนุนในช่วงแรกของการเข้าศึกษา โดยที่ระบบการกู้ยืมยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการของนักศึกษาและมหาวิทยาลัย และเมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้วก็จะไม่มีปัญหาในส่วนนี้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดำเนินการของนักศึกษาเป็นสำคัญด้วย

ระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้เอื้อเฟื้อและสนับสนุนให้ผู้สนใจได้เข้าศึกษาต่อตามความสนใจและความสามารถของผู้เรียน หากแต่ที่เป็นปัญหาอยู่บ้างก็มักขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนที่อาจเกิดจากความไม่เข้าใจหรือไม่พยายามที่จะดำเนินการใดๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องยากที่ใครจะช่วยได้

การศึกษาในระดับอุดมศึกษาถือว่าผู้เรียนมีวุฒิภาวะในระดับสูงที่พร้อมจะมีความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น ระบบการเรียนการสอนจึงมักมุ่งเน้นหรือมีเป้าหมายที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ในชีวิตของผู้เรียน ด้วยการฝึกฝนและขัดเกลาให้มีพื้นฐานในระดับสำคัญที่ผู้เรียนสามารถที่จะนำไปใช้ในชีวิตได้ โดยที่สาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์ อาทิ วิชาด้านการแพทย์ เป้าหมายก็มีความชัดเจนอยู่แล้วว่า ผู้เรียนจะต้องประกอบอาชีพอะไรในอนาคต แต่กระนั้นในสาขาวิชาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ก็มิอาจบ่งบอกหรือจำกัดลักษณะของวิชาชีพที่ผู้เรียนจะต้องเป็นหรือทำงานอยู่ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ดังจะพบว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในบางสาขาวิชาจำนวนไม่น้อยไปประกอบอาชีพหรือเติบโตในสาขาวิชาที่มิได้ร่ำเรียนมา

การเลือกสาขาวิชาเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน การเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ตนเองรักและสนใจมาก ๆ นั้น น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าการเลือกสาขาวิชาที่ไม่มีการวางแผนและกำหนดกฎเกณฑ์ใดๆ ไว้ ซึ่งนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงแล้ว ถือเป็นสิ่งที่น่าเสียดายเวลาและเงินทองที่สูญเสียไป
ที่กล่าวมาข้างต้นอยากจะให้นักศึกษาที่จะเป็นกำลังสำคัญต่อไปของประเทศได้พึ่งตระหนักถึงความสำคัญของการพึ่งตนเอง การช่วยเหลือจากครอบครัวให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาควรจะเป็นส่วนเดียว การที่นิสิต นักศึกษาได้พึ่งพาตนเอง ยืนด้วยลำแข้งตนเองตั้งแต่อยู่ในวัยเรียนน่าจะทำให้ตนเองมีความแข็งแกร่งและมีประสบการณ์อันสำคัญที่จะเป็นบัณฑิตที่ดีในสังคมการทำงาน

ที่มา "การศึกษาวันนี้"
ผู้เขียน : ภรณ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook