เด็กปวช.เมินถุงยาง ส่งผลท้องก่อนวัยสมควร

เด็กปวช.เมินถุงยาง ส่งผลท้องก่อนวัยสมควร

เด็กปวช.เมินถุงยาง ส่งผลท้องก่อนวัยสมควร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


จากการศึกษาวิจัยของแพทย์หญิงเบจพร ปัญญายง พบว่า ในประเทศไทยมีวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี ประมาณ 10 ล้านคน ชายหญิงมีสัดส่วนพอๆ กัน การคลอดในวัยรุ่นไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยการคลอดในเด็กต่ำกว่า 15 ปี มีประมาณ 3,000 คนต่อปี ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเป็นการคลอดของวัยรุ่นที่มีอายุน้อยลง คือ อายุ 15-17 ปี


วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์เป็นผลจากการไม่ได้ป้องกัน โดยที่นักเรียนระดับปวช. และนักศึกษาระดับอุดมศึกษามีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันในระดับสูงกว่านักเรียนวัยอื่น ๆ โดยมีเพียง 1ใน 4 ของ เพศชายและ 1ใน 10 ของเพศหญิง เท่านั้นที่ใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำ ในขณะเดียวกันวัยรุ่นกลุ่มที่ชอบเที่ยวในสถานที่ชุมนุมจะมีอัตราการมีเพศสัมพันธ์และมีพฤติกรรมเสี่ยง (ไม่ใช้ถุงยางอนามัย) สูงกว่ากลุ่มอื่น และมีการดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติดร่วมด้วย
นอกจากนี้ จากการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี พบว่าวัยรุ่นชายเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ในครั้งแรก


การป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น มีมาตรการป้องกัน 3 ระดับ คือ การป้องกันระดับปฐมภูมิ เป็นการป้องกันก่อนการตั้งครรภ์ครั้งแรกด้วยเพศศึกษารอบด้านและการเข้าถึงถุงยางอนามัย ตลอดจนการคุมกำเนิด การป้องกันระดับทุติยภูมิ คือ การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ และ การป้องกันระดับตติยภูมิ เป็นการป้องกันปัญหาแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ การคลอดและการทำแท้ง


นอกจากนี้ การสำรวจยังพบว่า วัยรุ่นใช้บริการทางการแพทย์ค่อนข้างน้อย และต้องการข้อมูลการปรึกษาทางเว็บไซต์ หน่วยบริการของรัฐและการปรึกษาทางโทรศัพท์ ดังนั้นการให้บริการด้านการคุมกำเนิด การป้องกัน ควรเป็นบริการที่เป็นมิตร เข้าถึงง่าย และรักษาความลับ ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีบริการเชิงรุก และจำเป็นต้องใช้สื่อทันสมัยเพื่อให้วัยรุ่นเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและได้รับบริการที่เหมาะสมมากขึ้น

 

โจ๋ท้องก่อนวัยพุ่ง

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook