ป้องกันตนเองจากสารพิษในอากาศ

ป้องกันตนเองจากสารพิษในอากาศ

ป้องกันตนเองจากสารพิษในอากาศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ป้องกันตนเองจากสารพิษในอากาศ กับ นพ.กิติพงษ์ พนมยงค์ กลุ่มศูนย์การแพทย์ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ฯ รพ.นพรัตน์ราชธานี

สิ่งที่เราสูดดมเข้าไปในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นสารพิษที่เกิดจากหลายอย่าง แบ่งการกำเนิดได้หลายประเภท แบ่งตามปฐมภูมิอย่างเช่น ปล่อยมาจากปล่องควันโรงงาน ท่อไอเสีย ยางรถยนต์ที่เกิดจากการเผ่าไหม้ การเผาป่า การทำการเกษตร ส่วนใหญ่สิ่งที่สูดดมเข้าไปเกิดผลกระทบอันแรกเลย ก็คือเรื่อง ทางเดินหายใจ เรื่องของปอด อาจจะทำให้ผู้ที่โรคประจำตัวอยู่แล้วเช่นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด คนชราและเด็กมีปัญหาต่อร่างกาย ส่วนคนที่มีร่างกายปกติก็จะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อการหายใจ ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยน ออกซิเจนในร่างกาย ดัชนีที่ใช้วัดสารพิษได้แก่กลุ่ม ไนตรัสออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารที่เป็นไอละเหยก็เป็นพวกปิโตเคมี นี้ก็เป็นดัชนีที่ชี้ว่าเป็นพิษมากพิษน้อย รวมทั้งฝุ่นละอองที่อยู่ในอากาศ

 

 

ข้อแนะนำสำหรับประชาชนในการปฏิบัติตนในสถานการณ์มลพิษหมอกควัน

1. ใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดๆปิดจมูก ในกรณีที่อยู่ในบริเวณที่มีหมอกควัน

2. ปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นควันเข้าบ้าน

3. ไม่อยู่ในบริเวณที่มีหมอกควันปกคลุมโดยเฉพาะกลุ่มเสียง ได้แก่ เด็ก คนชรา ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หอบหืด

4. ผู้เป็นโรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคปอด เด็ก และคนชรา ควรพักผ่อนอยู่ในบ้านโดยผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวควรเตรียมยา และอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม

5. เมื่อมีอาการผิดปกติหลังจากสูดดมหมอกควันควรรีบไปพบแพทย์ทันที

6. งดเว้นการสูบบุหรี่และควรดื่มน้ำบ่อยๆในช่วงที่มีฝุ่นควันรบกวน

7. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายและการทำงานหนักทีต้องออกแรงมากในบริเวณที่มีฝุ่นควันรบกวน

8. ติดตามรับฟังข่าวสารและข้อมูลจากทางราชการอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจและมีการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

9. งดการรองรับน้ำฝนไว้ใช้อุปโภคบริโภคชั่วคราวแต่ถ้าหากจำเป็นต้องรองน้ำควรปล่อยให้ฝนตกลงมาอย่างหน้อย 1 ชั่วโมง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook