แผลร้อนใน กวนตัว กวนใจ

แผลร้อนใน กวนตัว กวนใจ

แผลร้อนใน กวนตัว กวนใจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ขึ้นชื่อว่าร้อนใน ฟังดูน่ากลัว เม็ดตุ่มใส ๆ สีขาว ที่สร้างความรำคาญและรบกวนการดำเนินชีวิตของเรา ถึงแม้อาการปวดแสบจากร้อนในจะไม่มาก แต่ถ้าหากไม่ใส่ใจ แผลร้อนในที่ว่า อาจกลายเป็นแผลในปากลุกลามจนยากแก่การรักษาก็ได้

แผลร้อนในเป็น จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุ เพราะลักษณะของแผลนั้นเกิดมาเอง และสามารถหายไปได้เองภายใน 1 อาทิตย์ มักเกิดขึ้นในช่วงอายุ 10-30 ปี บางรายอาจมีไข้ต่ำ ๆ เจ็บคอได้บ้าง แต่ไม่มากและหายเองได้

แต่ถ้าหากอาการร้อนในไม่ดีขึ้น แถมทำท่าว่าจะลุกลาม ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ บางทีแผลร้อนในอาจอาการร่วมของโรคใดโรคหนึ่งได้

รักษาอาการอักเสบจากร้อนใน

สามารถปฏิบัติได้ง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง ด้วยวิธีต่อไปนี้

1.ใช้น้ำยาบ้วนปาก หรือน้ำอุ่นผสมน้ำเกลือ จะช่วยฆ่าเชื้อโรค และทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น

2.การใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบ อาจมาในรูปของยาทา จะช่วยลดอาการอักเสบและการติดเชื้อได้

3.รับประทานวิตามินบี 12 ให้มากขึ้น การขาดวิตามิน บี 12 เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลร้อนในได้ง่าย โดยเฉพาะผู้หญิงควรได้รับวิตามินชนิดนี้อย่างน้อยวันละ 2.4 ไมโครกรัม ซึ่งสามารถพบได้ในไข่ไก่ 1 ฟองและโยเกิร์ตไขมัน 1ถ้วย

4.ลดความเครียด ความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลร้อนในได้ ดังนั้นควรหากิจกรรมเพื่อคลายความเครียดบ้าง เช่น อ่านหนังสือขำขัน เล่าเรื่องตลกกับเพื่อน ฯลฯ


แผลร้อนใน ที่อาจไม่ใช่แผลร้อนใน... 

มาดูกันว่า แผลในช่องปากอื่น ๆ นอกจากร้อนในมีอะไรอีกบ้าง

1.แผลที่เกิดจากการเสียดสี แผลนี้อาจได้มาจากการรับประทานอาหารที่มีลักษณะกรอบ แข็ง ทำให้เวลาเคี้ยวเกิดการเสียดสีกับเนื้อเยื่อช่องปาก หรืออาจเป็นของทดกรอบ สิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดแผลเล็กกวนใจได้ นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสกับช่องปากไม่เหมาะสมเช่น แปรงสีฟัน ก็สามารถทำให้เกิดแผลได้เช่นกัน
ช่องทางการรักษา ให้หยุดทานอาหารทอดกรอบ รวมไปถึงเปลี่ยนอุปกรณ์การใช้งานในช่องปากให้มีลักษณะอ่อนนุ่มลง จะช่วยให้ลดอาการของอักเสบของแผลลงได้ หรืออาจใช้ยาป้ายเพื่อช่วยลดการอักเสบและติดเชื้อเพิ่มเติม

2.แผลที่เกิดจากโรคติดเชื้อ ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือโรคเริม โรคซิฟิลิส มือเท้าปาก เชื้อรา เป็นต้น
ช่องทางการรักษา ให้แพทย์วินิฉัยตามโรคและรักษาตามอาการนั้น ๆ

3.แผลที่เกิดจากการทำงานของภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น โรค SLE , Reiter's , Behcet's
ช่องทางการรักษา แผลที่เกิดจากการทำงานของภูมิคุ้มกันผิดปกติ มักจะมีลักษณะอาการเฉพาะ ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยของแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญ และรักษาตามอาการ

4.แผลมะเร็ง คือ แผลมะเร็งในช่องปาก จะเกิดขึ้นที่กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก เพดานปาก พื้นปากและริมฝีปาก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบเรื้อรัง อาจเริ่มได้จากแผลในช่องปากธรรมดา ๆ หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจเปลี่ยนไปเป็นเนื้อมะเร็งได้
ช่องทางการรักษา โดยปกติแล้วแพทย์จะตัดชิ้นเนื้อไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ การรักษาอาจทำโดยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด หรือรักษาร่วมกันหลายวิธีก็เป็นได้

5.แผลจากการแพ้หรือระคายเคือง การแพ้สารบางตัวอาจทำให้ผิวปากเกิดดารอักเสบ รวมไปถึงการระคายเคืองอาจทำให้เนื้อเยื่อในปากอ่อนแอลง ก่อให้เกิดแผลในปากได้
ช่องทางการรักษา หากแผลในปากเกิดจากการแพ้ให้เลิกใช้สารตัวนั้นหรือแจ้งกับแพทย์ที่รักษา จะได้วินิจฉัยและรักษาได้ถูกต้อง

6.แผลจากยา ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs และยาลดความดันในกลุ่ม เบต้าบล็อกเกอร์ ทำให้เกิดแผลได้ โดยไม่เกี่ยวกับการแพ้
ช่องทางการรักษา เป็นผลข้างเคียงของยา เมื่อหยุดการใช้ยาชนิดนั้นแล้วแผลก็จะค่อย ๆ หายไป


แผลร้อนในกับแผลในช่องปากมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แผลร้อนในบางชนิด อาจเกิดจากสาเหตุเดียวกันกับแผลในปากอื่น ๆ และสามารถลุกลามไปเป็นแผลใหญ่ที่อันตรายอย่าง แผลมะเร็ง ได้ เพราะฉะนั้นอย่าได้ละเลยกับแผลเล็ก ๆ และหมั่นใส่ใจกับสุขภาพในช่องปากด้วยนะคะ

 

ที่มา : http://www.never-age.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook